
นับเป็นโชคดีของคนไทย ที่ปัจจุบันรัฐบาลได้วางรากฐานและจัดสรรการรักษาพยาบาลไว้อย่างเป็นระบบ ทั้ง สิทธิ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”(บัตรทอง/บัตร 30 บาท) ที่ ครอบคลุมการรักษาคนไทยทั่วประเทศ 4ม849 ล้าน คน ส่วนคนทำงาน 13 ล้านคน ก็สามารถใช้สิทธิ “ประกันสังคม” ด้าน “ข้าราชการและครอบครัว” กว่า 100 กรม ใน 20 กระทรวง ก็มีสิทธิ การรักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลาง จนอาจกล่าวได้ว่า “ทุกคน” มีพื้นที่สำหรับรักษา พยาบาลยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ขณะที่ประชาชนและบริษัทเอกชนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็น กลุ่มพรีเมียมและ กลุ่มไฮพรีเมียม แม้สามารถเลือกรักษา กับสถานพยาบาลตามสิทธิที่รัฐบาลพึงให้ แต่“โรงพยาบาลเอกชน”กลับเป็น“ทางเลือก”ของคนส่วนใหญ่ ที่มัก หลีกเลี่ยงความแออัด ไม่สะดวกสบายจากโรงพยาบาลของรัฐ หรืออยากคุยกับแพทย์ผู้รักษาจนคลายความสงสัย โดยที่ไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย …เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลในปัจจุบัน แต่หากย้อนไปในอดีต อาจกล่าวได้ว่าโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นมาเพราะความจำเป็น ทีโรงพยาบาล ของรัฐไม่สามารถให้บริการรักษาพยาบาลได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง จากเดิมโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเป็นแค่สถานพยาบาลขนาดเล็ก มีเจ้าของเพียงคนเดียว การบริหารงาน เป็นแบบครอบครัว แพทย์และบุคลากรทำงานเฉพาะช่วงนอกเวลางาน ไม่มีระบบควบคุมคุณภาพ และเปิดให้บริการ เพียงบางเวลาทว่าทุกวันนี้โรงพยาบาลเอกชนพัฒนาจนกลายเป็นโรงพยาบาลหลายระดับตามความต้องการของผู้มาใช้บริการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อมูล ณ เดือน ก.ย. 2557 ระบุว่า มีโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยทั้งสิ้น 329 แห่ง จำนวนเตียงให้บริการรวม 34,319 เตียง เจ้าของเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทมหาชนที่บริหารแบบมืออาชีพ แพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพทำงานเต็มเวลาด้วยความเชี่ยวชาญแม่นยำย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยรักษาและฟื้นฟู พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถให้บริการรักษาพยาบาลโรคและโรคเฉพาะทางที่ซับซ้อนได้ตลอด 24 ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลร้อยละ 20-30 ของประเทศ
ทั้งยังได้รับมาตรฐานในประเทศอย่าง Hospital Accreditation หรือ HA โดยมีโรงพยาบาลเอกชนระดับ 2 และ 3 จำนวน 91 แห่ง ได้รับมาตรฐานดังกล่าว ขณะที่ ในปี 2558 มีโรงพยาบาลเอกชนของไทย 44 แห่ง ได้รับมาตรฐานระดับสากลที่เน้น เรื่องการจัดการบริหารเพื่อ ปลอดภัยจากนานาชาติ หรือ JCI Accredited Organizations นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าในปี 2555 โรงพยาบาลเอกชนมีการจ้างงานบุคลากรถึง 200,000 คนต่อปี ก่อให้เกิดรายได้ในอุตสาหกรรมประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปี ให้บริการผู้ป่วยนอกประมาณ 55 ล้านนครั้ง ต่อปี ผู้ป่วยในมากถึง 1.5 ล้านครั้งและส่วนหนึ่ง เป็นผู้ป่วย ระดับไฮพรีเมียม ที่เคยเดินทางออกไปรักษายังต่างประเทศ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2555 มีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามารักษากับโรงพยาบาลเอกชน เป็นจำนวนมากและเพิ่มมากขึ้นทุกปี เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ เยอรมนี ออสเตรเลีย จีน เมียนมา กัมพูชา อินเดีย และลาว จากการสำรวจยังพบอีกว่า ในแง่ศักยภาพการรักษาพยาบาลเชิงปริมาณของโรงพยาบาลเอกชนไทย สามารถดึงดูด ให้มีผู้มาใช้บริการมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ยิ่งในระยะ 10 ปีให้หลัง ผลงานและชื่อเสียงของโรงพยาบาลเอกชนไทยกระจายไปทั่ว โลก จนชาวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอันดับ 1 ของโลกเช่นกัน (อ้างอิงมาจากนิตยสาร Forbes เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2014) เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเมียนมาและกัมพูชาก็ยังเดินทางมารักษากับโรงพยาบาลเอกชนของไทย ด้วยเพราะมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ดีกว่า โรงพยาบาลเอกชนจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ต่อระบบบริการสุขภาพและการพัฒนาของประเทศ โดยที่ไม่ต้องใช้ภาษีของรัฐเข้ามาอุดหนุน ดังนั้นค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนจึงไม่สามารถเทียบโรงพยาบาลของรัฐได้ ในอีกด้านหนึ่ง โรงพยาบาลเอกชนยังช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณในการลงทุนด้านสาธารณสุขของประเทศได้ กว่า 2.26 แสนล้านบาท พร้อมกันนั้นยังจ่ายภาษีกลับคือไปให้รัฐในรูปภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้พนักงาน และภาษีเงินได้ของแพทย์และพยาบาล ต่อปีไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านบาท เพื่อนำไปอุดหนุนพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศในอีกทอดหนึ่ง ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม โรงพยาบาลเอกชนนับเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อประชาชนที่ เจ็บป่วย และยังมีบทบาทสำคัญในการการจ้างงานจำนวนมาก เกิดรายได้จากอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนยังช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐ ในหลาย ๆ ด้าน จึงเป็นธุรกิจที่รัฐพึงให้การส่งเสริมอย่างยิ่ง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพ